การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
ฉวีวรรณ โยคิน (http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177)
ได้กล่าวถึง การเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ดังนี้
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่สำคัญ คือ
ให้โอกาสเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนปกติและดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนร่วมกับบุคคลอื่นๆ
การจัดการเรียนรวมในโรงเรียนจึงนับเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย
(ดารณี อุทัยรัตนกิจ และคณะ,2546 : 53- 58) ซึ่ง
การเรียนรวมเป็นคำที่กล่าวถึงกันมากในวงการ การศึกษาพิเศษในประเทศตะวันตกตั้งแต่
ปีค.ศ. 1990 เป็นต้นมา
ในประเทศสหรัฐอเมริการัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการจัดการศึกษาพิเศษโดยการเรียนรวม
และกำหนดมาตรการหลายอย่างให้โรงเรียนปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ปกครองก็มีบทบาทสำคัญในการเร่งให้โรงเรียนต่างๆ
นำแนวคิดนี้มาใช้ ในประเทศสหราชอาณาจักรก็มีแนวโน้มในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน
และแนวคิดนี้ได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก
ถ้าเราพิจารณามองระบบการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิมจะพบว่า การจัดการศึกษาจัดในรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education) ซึ่งแต่เดิมไม่ได้คำนึงถึงเด็กพิการหรือเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป แต่ต่อมาได้มีกลุ่มนักการศึกษามองเห็นว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านนั้น สามารถให้การศึกษาได้ จึงได้จัดเป็นโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการให้กับกลุ่มเด็กพิการเหล่านี้ จึงได้เป็นจุดกำเนิด การศึกษาพิเศษ(Special Education) ขึ้น เมื่อจัดการพิเศษไปสักระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มนักการศึกษาได้มีการทดลองให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าเด็กพิการกลุ่มทดลองสามารถพัฒนาได้มาก จึงเกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรียกว่า การเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) หลังจากที่ได้มีการจัดการเรียนร่วมไประยะหนึ่ง นักการศึกษาได้ทำการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ กับเด็กที่เรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกัน และยังพบอีกว่าเด็กที่เรียนร่วมนั้นมีทักษะทางสังคมดีกว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ และยังสมารถพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือพฤติกรรมที่ยอมรับกันในสังคมทั่วไปได้ดีกว่า จึงได้มีคำจำกัดความของ การเรียนร่วม คือ การที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Needs) ได้รับโอกาสเข้าเรียนร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้ได้สูงสุด
ทำไมต้องมีการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม มีประเด็นสำคัญอยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 โรงเรียนการศึกษาพิเศษต้องเตรียมเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้พร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมได้ ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องมีพัฒนาการเท่าเทียมกับเด็กปกติทั่วไปทุกประการจึงจะได้รับโอกาสเข้าเรียนร่วม ประเด็นที่ 2 โรงเรียนและชั้นเรียนปกติทั่วไปไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน หลักสูตร เทคนิคการสอน การประเมินโรงเรียนเพียงแต่จัดบริการสนับสนุนช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งมีมุมมองด้านการจัดการเรียนร่วมอยู่ว่า หากโรงเรียนใดที่ผู้บริหาร และ ครูเข้าใจ เด็กก็จะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมและได้รับการสนับสนุน แต่หากโรงเรียนใดที่ผู้บริหาร และครู ไม่เข้าใจ เด็กก็จะขาดโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือให้สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้สูงสุด ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนร่วม และจุดอ่อนตรงที่โรงเรียนแทบจะไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยเช่นนี้ โดยถือว่าปัญหาอยู่ที่เด็กไม่ใช่ที่โรงเรียน ได้มีกลุ่มนักการศึกษาที่ได้ศึกษาและสนับสนุนสิทธิทางการศึกษาของเด็กทุกคน โดยถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ จึงได้เกิดมีปรัชญา และแนวทางการจัดการศึกษาในแนวใหม่ เรียกว่า การศึกษาแบบเรียนรวม
(Inclusive Education) มีการหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียน ไม่ใช่โรงเรียนเลือกรับเด็กเหมือนอย่างเช่นการเรียนร่วม และเด็กทุกคนควรมีสิทธิจะเรียนรวมกันโดยทางโรงเรียนและครูจะต้องเป็นผู้ปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตร การประเมินผล วัตถุประสงค์ ฯลฯ เพื่อครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตอบความต้องการของนักเรียนทุกคนและเฉพาะบุคคลได้
การศึกษาแบบเรียนรวม คือ อะไร
ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทยไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล (เบญจา ชลธาร์นนท์: 2544) และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ไว้ว่า
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวมมีแนวคิดอย่างไร
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนตั้งอยู่ทั่วไปทั้งประเทศอยู่แล้ว พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ส่งผลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งด้านการแพทย์การจัดการศึกษาอาชีพและบุคคลทั่วไปในสังคมทั้งภาครัฐรวมทั้งเอกชนให้ความตระหนักต่อการพัฒนาคนพิการ เปิดโอกาสให้คนพิการได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนพิการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ( กระทรวงศึกษาธิการ: 2542) นักการศึกษาพิเศษมีความเชื่อในเรื่อง แนวคิดการเรียนรวมว่า แนวคิดการเรียนรวมมีบทบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้ (เบญจา ชลธาร์นนท์:2544)
1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity ) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน หรือพิการหรือไม่ก็ตาม
2. ความหลากหลาย (Diversity) ในมวลหมู่มนุษย์ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้ การให้การศึกษาจะต้องยอมรับความแตกต่างในหมู่ชน การศึกษาที่ให้จะต้องแตกต่างกันแต่ทุกคนจะต้องเคารพในความหลากหลาย
3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization) ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัวและจะต้องยอมรับความปกตินั้น ๆ ทุกคนอยากเหมือนกัน ไม่มีใครอยาก “ ผ่าเหล่าผ่ากอ ” ทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน ห้ามให้การศึกษาแยกตามเหล่า
4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society) ในหนึ่งสังคมย่อมมีความหลากหลายวัฒนธรรม เราต้องยอมรับความหลากหลายเหล่านั้น การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคม
5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดย่อมมีศักยภาพทั้งนั้น แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากันการให้การศึกษาต้องให้จนบรรลุศักยภาพของแต่ละคน ไม่ใช่ให้การศึกษาในปริมาณที่เท่ากันคุณภาพเท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละคน
6. มนุษยนิยม (Humanism) คนเก่งคือคนที่เข้าใจมวลหมู่มนุษย์ และช่วยให้มวลหมู่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่คนเก่งแต่วิชาการแต่ทำให้เกิดการแตกแยก
7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) มนุษย์เป็นสังคม เราไม่สามารถจะแยกมนุษย์ออกจากกันได้ เพราะธรรมชาติของเขาต้องมีสังคม การให้การศึกษาโดยการแยกออกไป จึงไม่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์
8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การให้การศึกษาถึงแม้จะให้เรียนรวมกันไปก็ต้องการเฉพาะของแต่ละคน
9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์เราควรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สังคมน่าอยู่
10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) การให้การศึกษาจะต้องให้ในสภาวะที่เข้าเรียนได้ และจะต้องนำเขาสู่สังคมปกติโดยเร็วที่สุด
ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษนั้น เป็นการจัดการด้านการเรียนการสอน และการบริการให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้ได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักในการจัดการศึกษาพิเศษที่สำคัญก็คือ การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับประโยชน์เต็มที่
การเรียนรวมมีหลักการอย่างไร
จากปรัชญา แนวคิด และความเชื่อของการเรียนรวม ได้มีนักการศึกษาพิเศษและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เสนอหลักการเรียนรวม ดังนี้ ( ผดุง อารยะวิญญู และ วาสนา เลิศศิลป์:2551)
1. ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อเด็กปกติทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วย หากกีดกันไม่ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนปกติ หลายคนมีความเชื่อว่า นั่นคือความไม่ยุติธรรมในสังคม นักการศึกษาจำนวนมากเชื่อว่า ความยุติธรรมในสังคม ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขในสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับความต้องการทางสังคมของเด็ก กล่าวคือ เด็กทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ต้องการความรัก ต้องการความเข้าใจ ต้องการยอมรับ ต้องการมีบทบาท และมีการส่วนร่วมในสังคม เพราะมนุษย์ทุกผู้ทุกนามล้วนเป็นสัตว์สังคมทั้งสิ้น การศึกษาพิเศษในอดีตที่ผ่านมามุ่งเห็นความแตกต่าง มากกว่ามุ่งเน้นความเหมือนมุ่งเน้นจุดอ่อนหรือความไม่สามารถมากมาย บางคนมีความสามารถมากกว่าคนปกติเสียอีก ดังนั้นแนวการจัดการศึกษาพิเศษ จึงมุ่งเน้นความสามารถของเด็ก และการยอมรับของสังคม
2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) หมายถึง การจัดสภาพการใด ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับคนปกติ เช่น ในด้านที่อยู่อาศัย ในอดีตคนพิการ มักถูกส่งเข้าไปอยู่รวมกันในสถานสงเคราะห์ต่อมามีการสร้างบ้านสำหรับคนพิการขึ้นในชุมชน เพื่อให้เขาดำรงชีพอยู่ในสังคมและเป็นส่วนตัวของสังคม การสร้างสถานสงเคราะห์คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ จึงลดลงและหันมาให้บริการแก่ผู้บกพร่องในลักษณะดังกล่าวแทน ผู้ที่มีความบกพร่องอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนปกติ ความเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นในระบบการศึกษา มีการหยุดโรงเรียนเฉพาะหรือโรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนสอนคนตาบอด แต่หันมาส่งเสริมให้เด็กได้เรียนในโรงเรียนปกติ เด็กที่อยู่โรงเรียนเฉพาะทั้งหลายจึงถูกส่งกลับบ้าน เพื่อให้เข้าเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน
3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) คือ การจัดให้เด็กเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด จึงจะเป็นผลดีกับเด็กมากที่สุดโดยเด็กได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนเฉพาะประเภทอื่น ๆ ร่วมถึงชั้นพิเศษด้วย จัดอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัด เนื่องจากเด็กต้องถูกจำกัดให้อยู่ในโรงเรียนเฉพาะไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ โรงเรียนแบบเรียนร่วมเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้กับทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้ครูได้เข้าใจเด็กว่าในโลกนี้ยังมีเด็กประเภทนี้อยู่ในโลก อยู่รวมสังคมกับเรา เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พื้นฐานที่จะทำให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ ที่จะทำให้คนในสังคมอยู่รวมกันได้ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องเรียนร่วมในโรงเรียนพิเศษของประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ หรือญี่ปุ่น ต่างดำเนินไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น นั่นคือให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด
4. การเรียนรู้ (Learning) มีความเชื่อว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะเป็นเด็กปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่าเด็กปัญญาอ่อนไม่สามารถเรียนหนังสือได้แต่ต่อมาได้มีการพิสูจน์ว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเรียนหนังสือได้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ เด็กปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้ (Educable Mentally Retarded Children) สามารถเรียนหนังสือได้ในชั้นประถมศึกษาหรือในระดับชั้นที่สูงกว่า หากเด็กที่มีความพร้อม และได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและถูกวิธี เด็กปัญญาอ่อนที่มีระดับสติปัญญาต่ำมากแม้จะไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ แต่เขาก็สามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของเขา
จากหลักการเรียนรวม อาจกล่าวได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหลายคนอาจเรียนรู้ได้ดี แต่การประเมินการสอน จะต้องจัดให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของแต่ละคน การสอนให้จำอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นการสอนที่ดีและไม่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี เพราะเด็กที่เรียนรู้ได้ดีในเนื้อหาวิชา อาจไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตการงานก็ได้ การเรียนรู้ที่ดีอาจพิจารณาได้จากการที่เด็กมีความพึงพอใจในการเรียน มีความพึงพอใจในงานที่ตนเองทำ ซึ่งความพึงพอใจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นโรงเรียนที่จะจัดการเรียนรวมได้ดี ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี ควรปรับกระบวนการใหม่ตั้งแต่ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน
รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ
( Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา
จากการไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้เรียบเรียง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดรูปแบบ การร่วมมือ หรือ การร่วมสอน
คาร์ทเนอร์และลิปสกี้ (Gartner & Lipsky , 1997 อ้างถึงใน สมพร หวานเสร็จ ,2543) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมไว้หลายรูปแบบ บางรูปแบบคล้ายกับที่ด๊าคเสนอไว้ แต่ที่ต่างออกไปมี 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบห้องเสริมวิชาการ (Resource Room Model) เป็นการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษสอนในห้องที่จัดไว้ต่างหากเป็นการนำเด็กออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) ห้องเสริมวิชาการเป็นห้องที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับกลุ่มเฉพาะ ใช้เป็นห้องฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา นั่นคือบางเวลาเรียนรวมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทักษะเฉพาะบางประการ ดังรูปแบบห้องเสริมวิชาการ ของ Lake Bention : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกาทีผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน แสดงได้ ดังภาพที่ 3
2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สำหรับ 1 ห้องเรียนปกติ ผู้ช่วยครู ( บางทีอาจเรียนครูผู้ช่วย ) จะเข้าไปนั่งในห้องเรียนขณะที่ครูประจำการกำลังสอนอยู่หน้าชั้น ผู้ช่วยครูจะนั่งติดกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูผู้ช่วยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ จะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ 1 – 2 คน ในห้องเรียนรวมเต็มเวลา หน้าที่ของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพิ่มเติมตามที่ครูสอน ช่วยเรียกเด็กให้กลับมาสนใจบทเรียนหากเด็กเริ่มเสียสมาธิตลอดจนตอบคำถามของเด็กในเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้ช่วยครูอาจไม่มีวุฒิทางการศึกษาก็ได้ อาจเป็นอาสาสมัครหรือผู้ปกครองก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผู้ปกครองของเด็กที่ผู้ช่วยครูกำลังดูแลอยู่ ผู้ช่วยครูจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียน รูปแบบผู้ช่วยครู
อาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ละรูปแบบมีลักษณะเฉพาะ และมีความเหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป และอาจมีรูปแบบอื่นที่มิได้จำกัดอยู่เพียง 8 รูปแบบที่กล่าวมานี้ อย่างไรก็ตามไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดี
ที่สุดแต่ละรูปแบบเป็นทางเลือกที่คนพิการ สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการจำเป็นที่เหมาะสมสำหรับคนพิการแต่ละคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวม
ในบรรยากาศในชั้นเรียนรวม มีนักการศึกษาหลายคนได้ เสนอแนะการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวมไว้ดังนี้ (Mastropieri, Margo and Thomas, 2000)
ถ้าเราพิจารณามองระบบการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิมจะพบว่า การจัดการศึกษาจัดในรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education) ซึ่งแต่เดิมไม่ได้คำนึงถึงเด็กพิการหรือเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป แต่ต่อมาได้มีกลุ่มนักการศึกษามองเห็นว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านนั้น สามารถให้การศึกษาได้ จึงได้จัดเป็นโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการให้กับกลุ่มเด็กพิการเหล่านี้ จึงได้เป็นจุดกำเนิด การศึกษาพิเศษ(Special Education) ขึ้น เมื่อจัดการพิเศษไปสักระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มนักการศึกษาได้มีการทดลองให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าเด็กพิการกลุ่มทดลองสามารถพัฒนาได้มาก จึงเกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรียกว่า การเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) หลังจากที่ได้มีการจัดการเรียนร่วมไประยะหนึ่ง นักการศึกษาได้ทำการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ กับเด็กที่เรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกัน และยังพบอีกว่าเด็กที่เรียนร่วมนั้นมีทักษะทางสังคมดีกว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ และยังสมารถพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือพฤติกรรมที่ยอมรับกันในสังคมทั่วไปได้ดีกว่า จึงได้มีคำจำกัดความของ การเรียนร่วม คือ การที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Needs) ได้รับโอกาสเข้าเรียนร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้ได้สูงสุด
ทำไมต้องมีการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม มีประเด็นสำคัญอยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 โรงเรียนการศึกษาพิเศษต้องเตรียมเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้พร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมได้ ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องมีพัฒนาการเท่าเทียมกับเด็กปกติทั่วไปทุกประการจึงจะได้รับโอกาสเข้าเรียนร่วม ประเด็นที่ 2 โรงเรียนและชั้นเรียนปกติทั่วไปไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน หลักสูตร เทคนิคการสอน การประเมินโรงเรียนเพียงแต่จัดบริการสนับสนุนช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งมีมุมมองด้านการจัดการเรียนร่วมอยู่ว่า หากโรงเรียนใดที่ผู้บริหาร และ ครูเข้าใจ เด็กก็จะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมและได้รับการสนับสนุน แต่หากโรงเรียนใดที่ผู้บริหาร และครู ไม่เข้าใจ เด็กก็จะขาดโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือให้สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้สูงสุด ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนร่วม และจุดอ่อนตรงที่โรงเรียนแทบจะไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยเช่นนี้ โดยถือว่าปัญหาอยู่ที่เด็กไม่ใช่ที่โรงเรียน ได้มีกลุ่มนักการศึกษาที่ได้ศึกษาและสนับสนุนสิทธิทางการศึกษาของเด็กทุกคน โดยถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ จึงได้เกิดมีปรัชญา และแนวทางการจัดการศึกษาในแนวใหม่ เรียกว่า การศึกษาแบบเรียนรวม
(Inclusive Education) มีการหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียน ไม่ใช่โรงเรียนเลือกรับเด็กเหมือนอย่างเช่นการเรียนร่วม และเด็กทุกคนควรมีสิทธิจะเรียนรวมกันโดยทางโรงเรียนและครูจะต้องเป็นผู้ปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตร การประเมินผล วัตถุประสงค์ ฯลฯ เพื่อครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตอบความต้องการของนักเรียนทุกคนและเฉพาะบุคคลได้
การศึกษาแบบเรียนรวม คือ อะไร
ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทยไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล (เบญจา ชลธาร์นนท์: 2544) และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ไว้ว่า
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวมมีแนวคิดอย่างไร
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนตั้งอยู่ทั่วไปทั้งประเทศอยู่แล้ว พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ส่งผลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งด้านการแพทย์การจัดการศึกษาอาชีพและบุคคลทั่วไปในสังคมทั้งภาครัฐรวมทั้งเอกชนให้ความตระหนักต่อการพัฒนาคนพิการ เปิดโอกาสให้คนพิการได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนพิการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ( กระทรวงศึกษาธิการ: 2542) นักการศึกษาพิเศษมีความเชื่อในเรื่อง แนวคิดการเรียนรวมว่า แนวคิดการเรียนรวมมีบทบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้ (เบญจา ชลธาร์นนท์:2544)
1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity ) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน หรือพิการหรือไม่ก็ตาม
2. ความหลากหลาย (Diversity) ในมวลหมู่มนุษย์ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้ การให้การศึกษาจะต้องยอมรับความแตกต่างในหมู่ชน การศึกษาที่ให้จะต้องแตกต่างกันแต่ทุกคนจะต้องเคารพในความหลากหลาย
3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization) ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัวและจะต้องยอมรับความปกตินั้น ๆ ทุกคนอยากเหมือนกัน ไม่มีใครอยาก “ ผ่าเหล่าผ่ากอ ” ทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน ห้ามให้การศึกษาแยกตามเหล่า
4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society) ในหนึ่งสังคมย่อมมีความหลากหลายวัฒนธรรม เราต้องยอมรับความหลากหลายเหล่านั้น การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคม
5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดย่อมมีศักยภาพทั้งนั้น แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากันการให้การศึกษาต้องให้จนบรรลุศักยภาพของแต่ละคน ไม่ใช่ให้การศึกษาในปริมาณที่เท่ากันคุณภาพเท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละคน
6. มนุษยนิยม (Humanism) คนเก่งคือคนที่เข้าใจมวลหมู่มนุษย์ และช่วยให้มวลหมู่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่คนเก่งแต่วิชาการแต่ทำให้เกิดการแตกแยก
7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) มนุษย์เป็นสังคม เราไม่สามารถจะแยกมนุษย์ออกจากกันได้ เพราะธรรมชาติของเขาต้องมีสังคม การให้การศึกษาโดยการแยกออกไป จึงไม่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์
8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การให้การศึกษาถึงแม้จะให้เรียนรวมกันไปก็ต้องการเฉพาะของแต่ละคน
9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์เราควรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สังคมน่าอยู่
10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) การให้การศึกษาจะต้องให้ในสภาวะที่เข้าเรียนได้ และจะต้องนำเขาสู่สังคมปกติโดยเร็วที่สุด
ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษนั้น เป็นการจัดการด้านการเรียนการสอน และการบริการให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้ได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักในการจัดการศึกษาพิเศษที่สำคัญก็คือ การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับประโยชน์เต็มที่
การเรียนรวมมีหลักการอย่างไร
จากปรัชญา แนวคิด และความเชื่อของการเรียนรวม ได้มีนักการศึกษาพิเศษและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เสนอหลักการเรียนรวม ดังนี้ ( ผดุง อารยะวิญญู และ วาสนา เลิศศิลป์:2551)
1. ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อเด็กปกติทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วย หากกีดกันไม่ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนปกติ หลายคนมีความเชื่อว่า นั่นคือความไม่ยุติธรรมในสังคม นักการศึกษาจำนวนมากเชื่อว่า ความยุติธรรมในสังคม ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขในสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับความต้องการทางสังคมของเด็ก กล่าวคือ เด็กทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ต้องการความรัก ต้องการความเข้าใจ ต้องการยอมรับ ต้องการมีบทบาท และมีการส่วนร่วมในสังคม เพราะมนุษย์ทุกผู้ทุกนามล้วนเป็นสัตว์สังคมทั้งสิ้น การศึกษาพิเศษในอดีตที่ผ่านมามุ่งเห็นความแตกต่าง มากกว่ามุ่งเน้นความเหมือนมุ่งเน้นจุดอ่อนหรือความไม่สามารถมากมาย บางคนมีความสามารถมากกว่าคนปกติเสียอีก ดังนั้นแนวการจัดการศึกษาพิเศษ จึงมุ่งเน้นความสามารถของเด็ก และการยอมรับของสังคม
2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) หมายถึง การจัดสภาพการใด ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับคนปกติ เช่น ในด้านที่อยู่อาศัย ในอดีตคนพิการ มักถูกส่งเข้าไปอยู่รวมกันในสถานสงเคราะห์ต่อมามีการสร้างบ้านสำหรับคนพิการขึ้นในชุมชน เพื่อให้เขาดำรงชีพอยู่ในสังคมและเป็นส่วนตัวของสังคม การสร้างสถานสงเคราะห์คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ จึงลดลงและหันมาให้บริการแก่ผู้บกพร่องในลักษณะดังกล่าวแทน ผู้ที่มีความบกพร่องอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนปกติ ความเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นในระบบการศึกษา มีการหยุดโรงเรียนเฉพาะหรือโรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนสอนคนตาบอด แต่หันมาส่งเสริมให้เด็กได้เรียนในโรงเรียนปกติ เด็กที่อยู่โรงเรียนเฉพาะทั้งหลายจึงถูกส่งกลับบ้าน เพื่อให้เข้าเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน
3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) คือ การจัดให้เด็กเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด จึงจะเป็นผลดีกับเด็กมากที่สุดโดยเด็กได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนเฉพาะประเภทอื่น ๆ ร่วมถึงชั้นพิเศษด้วย จัดอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัด เนื่องจากเด็กต้องถูกจำกัดให้อยู่ในโรงเรียนเฉพาะไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ โรงเรียนแบบเรียนร่วมเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้กับทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้ครูได้เข้าใจเด็กว่าในโลกนี้ยังมีเด็กประเภทนี้อยู่ในโลก อยู่รวมสังคมกับเรา เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พื้นฐานที่จะทำให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ ที่จะทำให้คนในสังคมอยู่รวมกันได้ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องเรียนร่วมในโรงเรียนพิเศษของประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ หรือญี่ปุ่น ต่างดำเนินไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น นั่นคือให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด
4. การเรียนรู้ (Learning) มีความเชื่อว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะเป็นเด็กปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่าเด็กปัญญาอ่อนไม่สามารถเรียนหนังสือได้แต่ต่อมาได้มีการพิสูจน์ว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเรียนหนังสือได้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ เด็กปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้ (Educable Mentally Retarded Children) สามารถเรียนหนังสือได้ในชั้นประถมศึกษาหรือในระดับชั้นที่สูงกว่า หากเด็กที่มีความพร้อม และได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและถูกวิธี เด็กปัญญาอ่อนที่มีระดับสติปัญญาต่ำมากแม้จะไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ แต่เขาก็สามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของเขา
จากหลักการเรียนรวม อาจกล่าวได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหลายคนอาจเรียนรู้ได้ดี แต่การประเมินการสอน จะต้องจัดให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของแต่ละคน การสอนให้จำอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นการสอนที่ดีและไม่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี เพราะเด็กที่เรียนรู้ได้ดีในเนื้อหาวิชา อาจไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตการงานก็ได้ การเรียนรู้ที่ดีอาจพิจารณาได้จากการที่เด็กมีความพึงพอใจในการเรียน มีความพึงพอใจในงานที่ตนเองทำ ซึ่งความพึงพอใจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นโรงเรียนที่จะจัดการเรียนรวมได้ดี ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี ควรปรับกระบวนการใหม่ตั้งแต่ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน
รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ
( Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา
จากการไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้เรียบเรียง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดรูปแบบ การร่วมมือ หรือ การร่วมสอน
คาร์ทเนอร์และลิปสกี้ (Gartner & Lipsky , 1997 อ้างถึงใน สมพร หวานเสร็จ ,2543) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมไว้หลายรูปแบบ บางรูปแบบคล้ายกับที่ด๊าคเสนอไว้ แต่ที่ต่างออกไปมี 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบห้องเสริมวิชาการ (Resource Room Model) เป็นการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษสอนในห้องที่จัดไว้ต่างหากเป็นการนำเด็กออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) ห้องเสริมวิชาการเป็นห้องที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับกลุ่มเฉพาะ ใช้เป็นห้องฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา นั่นคือบางเวลาเรียนรวมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทักษะเฉพาะบางประการ ดังรูปแบบห้องเสริมวิชาการ ของ Lake Bention : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกาทีผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน แสดงได้ ดังภาพที่ 3
2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สำหรับ 1 ห้องเรียนปกติ ผู้ช่วยครู ( บางทีอาจเรียนครูผู้ช่วย ) จะเข้าไปนั่งในห้องเรียนขณะที่ครูประจำการกำลังสอนอยู่หน้าชั้น ผู้ช่วยครูจะนั่งติดกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูผู้ช่วยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ จะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ 1 – 2 คน ในห้องเรียนรวมเต็มเวลา หน้าที่ของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพิ่มเติมตามที่ครูสอน ช่วยเรียกเด็กให้กลับมาสนใจบทเรียนหากเด็กเริ่มเสียสมาธิตลอดจนตอบคำถามของเด็กในเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้ช่วยครูอาจไม่มีวุฒิทางการศึกษาก็ได้ อาจเป็นอาสาสมัครหรือผู้ปกครองก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผู้ปกครองของเด็กที่ผู้ช่วยครูกำลังดูแลอยู่ ผู้ช่วยครูจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียน รูปแบบผู้ช่วยครู
อาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ละรูปแบบมีลักษณะเฉพาะ และมีความเหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป และอาจมีรูปแบบอื่นที่มิได้จำกัดอยู่เพียง 8 รูปแบบที่กล่าวมานี้ อย่างไรก็ตามไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดี
ที่สุดแต่ละรูปแบบเป็นทางเลือกที่คนพิการ สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการจำเป็นที่เหมาะสมสำหรับคนพิการแต่ละคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวม
ในบรรยากาศในชั้นเรียนรวม มีนักการศึกษาหลายคนได้ เสนอแนะการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวมไว้ดังนี้ (Mastropieri, Margo and Thomas, 2000)
1. บรรยากาศของความเป็นมิตร
เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษทำกิจกรรมการเรียนร่วมกัน
ไม่มีการรังเกียจเดียดฉันท์ ทุกคนเป็นมิตร จนไม่สนใจคำว่าพิการหรือปกติ
2. นักเรียนประกอบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายตามศูนย์การเรียนต่าง
ๆ ตามความสนใจและความสามารถของตน
3. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนและเฝ้ามองดูการร่วมกิจกรรมของนักเรียนและเฝ้ามองดูการร่วมกิจกรรมของนักเรียนด้วยความยินดี
4. ผู้เรียนมีโอกาสเลือกที่จะประกอบกิจกรรม
มีทั้งกิจกรรมที่ง่ายและกิจกรรมที่ยาก ๆ ให้เลือก
5. บรรยากาศห้องเรียนที่มีเพื่อนคอยช่วยเหลือเกื้อกูล
ซึ่งกันและกัน ไม่ใช้บรรยากาศแข่งกันหรือแก่งแย่งแข่งดี
6. บรรยากาศของการสร้างปฏิสัมพันธ์
( Interaction ) ทางสังคม
เด็กทุกคนได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
ห้องเรียนอาจไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยนัก
7. บรรยากาศของการเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางครูไม่ใช่แหล่งความรู้
ครูไม่ใช่ผู้สอน แต่ครูเป็นผู้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ด้วยตนเอง
8. บรรยากาศที่ผู้เรียนแต่ละคนทำกิจกรรมที่หลากหลายแตกต่างกันไม่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำในสิ่งเดียวกันและบรรลุเป้าหมายสูงสุดอันเดียวกัน
9. เป็นการเรียนการสอนที่มิได้ดำเนินไปเฉพาะในห้องเรียน
แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะต้องออกไปสู่แหล่งวิชาการในชุมชน
10. เป็นการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเฉพาะทักษะทางวิชาการ
แต่เน้นทักษะทางสังคมและทุกทักษะที่เป็นทักษะใหม่
เอ็ดชนิดท์และบาร์
ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับสภาพห้องเรียน ปรับการสอน
ปรับสภาวะทางสังคม และพฤติกรรม และความร่วมมือไว้ ดังนี้
1. ห้องเรียน
สภาพห้องเรียนอาจมีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1.1 การเคลื่อนไหว
ควรจัดห้องเรียนไม่ให้ตั้งโต๊ะ เก้าอี้ แน่นจนเกินไป
ควรจัดให้มีพื้นที่ว่างที่เด็กจะเคลื่อนไหวได้สะดวก
1.2 โต๊ะกลม
อาจจัดให้มีโต๊ะกลม 1 ตัว
เพื่อให้เด็กนั่งทำกิจกรรมกลุ่มให้สะดวก
1.3 การจัดที่นั่ง
อาจจัดโต๊ะให้นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือได้นั่งใกล้ชิดกับโต๊ะครูหรือนั่งใกล้กระดาน
2. การเรียนการสอน
ครูอาจปรับการเรียนการสอน วิธีสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
ครูอาจปรับได้ดังนี้
2.1 จัดให้มีสื่อทางสายตา
เช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ตัวอักษรขนาดใหญ่ ภาพประกอบ แผนภูมิ โทรทัศน์
หรือวีดีทัศน์ เป็นต้น
2.2 การฝึกทักษะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการอ่านจับใจความ
ครูอาจต้องระบายสีหรือขีดเส้นใต้คำสำคัญในเรื่องที่จะทำมาให้เด็กอ่าน
2.3 การมอบหมายงานให้ทำ
ครูอาจต้องให้เวลาเด็กนานกว่าคนอื่น ให้งานที่มีปริมาณพอเหมาะกับความสามารถของเด็ก
เด็กบางคนอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์
2.4 การสอบ
อาจต้องสอบสัมภาษณ์ หรือสอบปากเปล่าแทนการสอบข้อเขียน อาจให้ทำข้อสอบไปที่บ้าน (Take
Home) ควรมีการแนะนำเกี่ยวกับลักษณะของข้อสอบ
ควรแบ่งเวลาสอบออกเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วง
2.5 การวัดผลการประเมินผล
ควรตัดสินการสอบได้สอบตก หรือควรให้เกรดตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ควรประเมินผลตามแฟ้มสะสมงาน หรือประเมินผลตามสภาพจริง
2.6 การเรียนการสอน
ควรใช้วิธีการสอนแบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Cooperative Learning) หรือการผลัดกันสอนหรือสอนเพื่อน หรือทั้ง 3 วิธี หรือหลาย ๆ วิธี
2.7 การจัดลำดับการสอน/การมอบงานให้ทำ
ควรจัดให้มีสมุดจดงาน ให้นักเรียนจดงานที่ครูมอบหมายลงในสมุดจดงาน
หรือหาวิธีจัดลำดับงานให้เป็นระบบและง่ายต่อการตรวจสอบ
2.8 กิจกรรมคู่ขนาน
(Parallel Activities) ควรมอบงานให้เด็กทำไปพร้อม ๆ
กับเพื่อน แต่แทนที่จะมอบงานชนิดเดียวกัน ครูควรมอบงานที่คล้ายกันแต่ง่ายกว่างานที่เพื่อนกำลังทำอยู่
นั่นคือ ทำกิจกรรมเดียวกัน แต่มีระดับความยากง่ายแตกต่างจากงานที่เพื่อนกำลังทำ
2.9 หลักสูตรคู่ขนาน
(Parallel Curriculum) เนื้อหาในหลักสูตรอาจเป็นเนื้อหาเดียวกันแต่เนื้อหาย่อย
ๆ อาจแตกต่างกันไป ครูควรสอนในเนื้อหาย่อยที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน เช่น
ในขณะที่เพื่อน ๆ กำลังทำเลขโจทย์ระคนการบวกและการลบ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษอาจทำโจทย์การบวก หรือการลบเพียงอย่างเดียว เป็นต้น
2. 10 การใช้เทคโนโลยี
ในการเรียนการสอน ครูอาจอนุญาตให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวมใช้ CAI
(Computer Assisted Instruction - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน )
อุปกรณ์ในการสื่อสาร เทคโนโลยีอื่นที่จำเป็น
3. สภาวะทางสังคมและพฤติกรรม
ครูผู้สอนชั้นเรียนรวมอาจปรับเปลี่ยน คือ
คำนึงถึงสภาวะทางสังคมและพฤติกรรมของผู้เรียน ซึ่งอาจมีดังนี้
3. 1 การฝึกทักษะทางสังคม
ครูอาจพิจารณาว่าเด็กจำเป็นต้องฝึกทักษะทางสังคมด้านใดบ้างเด็กต้องการคำแนะนำปรึกษาด้านใดบ้าง
3. 2 พฤติกรรม
จำเป็นต้องใช้เทคนิคในการจัดการกับพฤติกรรมบ้างหรือไม่ เทคนิคใดจะเหมาะสม เช่น
การเสริมแรง การชี้แนะ ฯลฯ
3. 3 การควบคุมตนเอง
อาจต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักควบคุมตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ
3. 4 การช่วยเหลือจากเพื่อน
อาจจำเป็นต้องจัดหาเพื่อนคู่หูให้เพื่อนคอยช่วยเหลือในการฝึกทักษะทางสังคมทักษะทางพฤติกรรม
การให้เพื่อนคอยช่วยควบคุมพฤติกรรมเพื่อนช่วยทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. 5 การจัดระบบในชั้นเรียน
การช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม อาจจัดให้เป็นระบบทั้งชั้น
เช่น วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งมีคน 2 คน
คอยช่วยเหลือกันแล้ว ยังจำเป็นต้องให้ทั้งชั้น เข้าใจระบบ
และให้ความช่วยเหลือในยามจำเป็นอีกด้วย การจัดระบบในชั้นเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
4. ความร่วมมือ
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม
อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
4.1 ผู้ช่วยครู
ในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่จะเข้ามาช่วยครูในห้องเรียนอาจเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ทางโรงเรียนพิจารณาเห็นสมควร
4.2 การสอนร่วมกัน
หมายถึง
การที่มีครูอีกคนหนึ่งหรือหลายคนเข้ามาช่วยกันสอนในห้องเรียนรวมในเวลาเดียวกัน
หรือบางเวลา เช่นคนหนึ่งสอนอีกคนหนึ่งช่วยเหลือเด็ก เป็นต้น
ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
4.3 ห้องเสริมวิชาการ
โรงเรียนบางแห่งมีห้องเรียนเสริมวิชาการอยู่แล้ว
ครูผู้สอนอาจขอความช่วยเหลือจากห้องเสริมวิชาการในโรงเรียน
4.4 การอบรมครู
ครูประจำการควรได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ ในหัวข้อที่จำเป็นต่อวิชาชีพครู เช่น
เทคนิคการจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียน เทคนิคการสอนชั้นเรียนรวม
การจัดสภาพห้องเรียนในชั้นเรียนรวม
ของ Leke Benton : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน
แนวโน้มในการจัดการเรียนรวมเป็นอย่างไร
จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและการจัดการศึกษาพิเศษที่พัฒนารูปแบบขึ้นเรื่อยๆ
พบว่าการจัดเรียนรวมมีแนวโน้ม ดังนี้ คือ ( สมพร หวานเสร็จ ,2543 )
1. ห้องเสริมวิชาการจะมีบทบาทน้อยลง
จากเดิมห้องเสริมวิชาการ (Resource Room) มีบทบาทมากในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องในโรงเรียนทั่วไป
โดยครูจะดึงเด็กออกมาสอน(pull – out Program) ในห้องพิเศษที่จัดขึ้นต่างหาก
ห้องเรียนแบบนี้เรียกว่าห้องเสริมวิชาการหรือห้องเสริมทักษะ ได้แก่
1.1 ห้องเสริมวิชาการสำหรับเด็กแต่ละประเภท
เช่น ห้องเสริมวิชาการสำหรับเด็กปัญญาอ่อน เด็กออทิสติก เป็นต้น
วัสดุอุปกรณ์ภายในห้องมีไว้สำหรับเด็กแต่ละประเภทโดยเฉพาะ
1.2 ห้องเสริมวิชาการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาทุกประเภท
เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ มีมากมาย
เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กที่ได้รับการจำแนกทุกประเภท
1.3 ห้องเสริมวิชาการแบบไม่จำแนกประเภทเด็ก
จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนแต่ไม่แยกว่าเป็นเด็กประเภทใดทุกคนมีสิทธิใช้ทรัพยากรในห้องนี้
1.4 ห้องเสริมวิชาการเฉพาะทักษะ
เช่น ห้องคณิตศาสตร์ ห้องภาษาไทย
และห้องวิทยาศาสตร์เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและมีปัญหาในการบริหาร
จึงเปลี่ยนจากการดึงเด็กออกมาสอนในห้องเสริมวิชาการ
มาเป็นการให้เด็กเรียนในห้องปกติ และนำทรัพยากรมาให้บริการในห้องปกติแทน
และอาจมีครู 1 คน หรือ 2 คน (Team Teaching) ตามความจำเป็นไว้คอยช่วยเหลือเด็กทุกคนในห้องเรียนรวมโดยไม่แบ่งแยก
2. การปรับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
(Adaptive Learning Environment) จากการประเมินความสามารถของเด็กโดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม
กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จและจัดการเรียนการสอน
รวมทั้งประเมินผลตามแนวทางที่กำหนดไว้ด้วย
ขั้นตอนสำคัญในการปรับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ มีดังนี้ คือ
2.1 ศึกษาลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา
ประเมินความสามารถของเด็กจุดอ่อนจากการทดสอบทั้งแบบทดสอบมาตรฐาน
และแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น หรือจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
2.2 กำหนดแนวทางการเรียนรู้และหลักศาสตร์
ให้เหมาะสมกับลักษณะของเด็ก จัดหรือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
และห้องเรียนให้เหมาะสม เช่น จัดชั้นเรียน โต๊ะเรียน ห้องเรียน
ให้สวยงามจัดครูที่มีความรู้เข้าสอน จัดบริการเสริมที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการเรียนการสอนด้วย
2.3 กำหนดขอบเขตของการดำเนินการ
ว่าจะดำเนินการเรียนรวมเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนรวมห้องเดียว
หรือดำเนินการสำหรับเด็กทุกคนในโรงเรียน เป็นต้น
2.4 คำเนินการสอน
ตามแผนที่กำหนด โดยเด็กทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นเด็กทั่วไปหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ครูต้องแสดงพฤติกรรมการสอนที่พึงประสงค์ตามแผนที่กำหนดและจะต้องปรับพฤติกรรมของเด็กตามวิธีที่ถูกต้อง
2.5 การประเมินผล
โดยพิจารณาจากผลงานของเด็ก ทักษะที่เด็กแสดงออกทัศนะคติที่เปลี่ยนไปของนักเรียนปกติที่เรียนรวมกัน
ของครู ของผู้บริหารและของผู้ปกครอง
ขั้นตอนในการดำเนินงานดังกล่าว
ค่อนข้างมากและยุ่งยาก ครู นักเรียน และผู้บริหารจะต้องร่วมกันทำงานอย่างหนัก
จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ด้วยดี
3. การร่วมสอน (Co –
Teaching) หมายถึง การที่ครูสอน ร่วมกันสอนในชั้นเดียวกัน
วิชาเดียวและในเวลาเดียวกัน มีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย
สร้างบรรยากาศและแก้ปัญหาร่วมกัน (ผดุง อารยะวิญญู, 2551) ไม่จำเป็นต้องดึงเด็กออกจากห้องปกติ
ไปเรียนในห้องเสริมวิชาการอาจสอนรวมกันโดยให้ครูการศึกษา
มาสอนในห้องปกติร่วมกันสอนกับครูประจำชั้น
หรือครูประจำวิชาในบางชั่วโมงครูคนหนึ่งอาจสอนเด็กทั้งชั้น ในขณะที่ครูอีกคน 1 คน สอนในกลุ่มเล็กโดยอาจให้เด็ก 2 – 3 คน
เข้าใจในเนื้อหาเดียวกัน หรือครูอาจสอนเด็กเป็นรายบุคคลในห้องเดียวกันก็ได้
หรือครูคนหนึ่งอาจเป็นผู้สอนครูอีกคนหนึ่งอาจตรวจดูว่าเด็กตั้งใจฟัง และเข้าใจ
หรือไม่ การร่วมสอนอาจมีปัญหาได้ ถ้าครูทั้งสองคนไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
การร่วมสอนที่ได้ผลดีควรดำเนินการดังนี้ คือ
3.1 การวางแผนร่วมกัน
ครูทั้งสอนคนต้องใช้เวลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
ในการวางแผนร่วมกันว่าใครจะทำอะไรบ้าง
3.2 อภิปรายร่วมกัน
กำหนดเป้าหมายร่วมกันว่าต้องการให้เด็กทำอะไร การสอนจะดำเนินไปด้วยดี
ถ้าครูทั้งสองคนเข้าใจตรงกัน และมีความเชื่อในปรัชญาการสอนเหมือนกัน
3.3 เอาใจใส่รายละเอียดต่างๆ
ร่วมกัน เช่น กิจวัตรของห้องเรียน การขออนุญาตออกจากห้อง การส่งงาน ระเบียบอื่น ๆ
ของห้องเรียน การจัดป้ายนิเทศและการให้คะแนน เป็นต้น
3.4 กำหนดบทบาทและหน้าที่ของครูแต่ละคนร่วมกัน
เช่น ครูที่สอนเด็กทั่วไปจะทำอะไรครูการศึกษาพิเศษจะทำอะไรบ้าง
3. 5 ร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน
เช่น บรรยากาศแห่งความเป็นมิตร ควรมีชื่อครูทั้งสองคนติดอยู่ที่หน้าห้อง
มีการแนะนำนักเรียนให้รู้จักครูการศึกษาพิเศษตลอดจนชี้แจงให้เด็กทั้งห้องทราบการเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่นักเรียนสามารถคาดหวังจากครูทั้งสองคนได้
3.6 ร่วมกันแก้ปัญหา
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ครูทั้งสอนต้องเปิดใจในการแก้ปัญหา
ซึ่งอาจเป็นปัญหาความไม่ลงรอยกันทางด้านวิชาการหรือทางสังคม
ต้องพูดคุยกันและหาข้อยุติให้ได้
www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 โดยอ้างอิงจาก เบญจา
ชลธานนท์( 2545) ได้กล่าวไว้
ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง
การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก
หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน
แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ
จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ
จะต้องถือหลักการดังนี้
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
ศึกษาแบบเรียนรวมมีรูปแบบใด
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา
มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้
มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้
ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข
มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาแบบเรียนรวมมีหลักการใด
การศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการว่า
เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม
หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้
แนวคิดและปรัญญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน
รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล
หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน
โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
ปรัญญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า
การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา
อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ
ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน
โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม
มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ
ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ
ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่
เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ
โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน
ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่น
พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน
ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง
ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง
จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง
ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน
รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน
หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้
ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส
ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้
หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้
และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว
เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่
ๆ ได้ 3 ประการ
1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา
ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา
ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง
การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ
และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ
ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท
ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
จะพบว่าสติปัญญาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเด่นชัดที่สุดในเรื่องของการเรียนรู้
การพัฒนาการในด้านการเคลื่อนไหวด้านภาษา ด้านความคิดรวบยอด ด้านอารมณ์
และด้านสังคม ของเด็กจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ได้เพราะเด็กมีสติปัญญาเป็นปกติ
แต่หากมีความบกพร่องทางสติปัญญาแล้วพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กจะล่าช้าไป
หรือไม่เป็นไปตามวัยที่ควรจะเป็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
จะพบว่าการสูญเสียการได้ยิน
และปัญหาทางการเรียนรู้มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน
เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับภาษา
คนเราเรียนรู้ภาษาและการพูดโดยการรับรู้จากการได้ยิน
ซึ่งการเรียนรู้ภาษาและการพูดจะช่วยให้คนเราสามารถเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ
ได้เพิ่มมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น ดังนั้นหากมีความบกพร่องทางการได้ยิน
ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะลดน้อยไป
เพราะไม่มีภาษาและการพูดการติดต่อกับผู้อื่นเพื่อการเรียนรู้
และพัฒนาตนเองทางด้านสังคมก็จะบกพร่องตามไปด้วย
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
จะพบว่าการเห็นและการเรียนรู้จะมีความสัมพันธ์กัน
คนเราใช้การเห็นเพื่อการเรียนรู้เป็นสำคัญ
หากมีความบกพร่องทางการเห็นแล้วมักจะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างเด่นชัด
มองเห็นวัตถุกลมเป็นรูปเบี้ยวและพร่า เห็นเส้นแนวตั้งแนวขวางได้ชัดเจนไม่เท่ากัน
ดังนั้นจึงถือว่าการเห็นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะต้องปรับตัวในแบบต่าง ๆ
หลายอย่างด้วยกันและในช่วงเวลาของการปรับตัวเหล่านี้จะทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นขาดโอกาสในการเรียนรู้ไปหรือทำให้เรียนรู้ได้ไม่ทันคนอื่น
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
จะพบว่าร่างกายและสุขภาพที่ดีก็ช่วยให้มีการเรียนรู้ที่ราบรื่น
ส่วนคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพก็ต้องมาเสียพลังงาน
ความสนใจอยู่ในเรื่องร่างกายและสุขภาพมากกว่าการเรียนรู้
หรือเพราะความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจึงทำให้เด็กต้องรักษาพยาบาลหรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่จึงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
หรือได้รับการเอาใจใส่ที่จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพได้รับผลกระทบจากสาเหตุของความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
จนไม่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่
ร่างกายและสุขภาพที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญของความพร้อมของเด็ก
เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจะทำให้ตื่นตัวและพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมทางการเรียนรู้ในอัตราเดียวกับเด็กปกติย่อมเป็นไปไม่ได้
นอกจากนี้การมีร่างกายหรือสุขภาพไม่ดีก็ยังทำให้เด็กต้องขาดเรียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้
เพราะเป็นเหตุให้เด็กขาดโอกาสในการฝึกทักษะที่จำเป็นตังแต่เริ่มแรก
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
จะพบว่าเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า
การพูดและภาษามีความสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จในการเรียนรู้ของคนเรา
ซึ่งบทบาทของการพูดและภาษานั้นจะมีมากหรือน้อยเพียงไรนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับโอกาสที่เด็กจะได้รับจากสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมนี้เห็นได้ชัดเจนจากเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งอยู่ในสภาพขาดแคลน
ห่างไกลจากชุมชน หรืออยู่ในวัฒนธรรมที่ไม่ได้ฝึกใช้ภาษาตั้งแต่เยาว์วัย
ทำให้มีปัญหาเมื่อเริ่มเรียน เพราะขาดภาษา หรือมีความล่าช้าด้านพัฒนาการทางภาษา
การพูดและภาษาเป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของเด็ก
ดังนั้นหากเด็กมีความบกพร่องทางการพูดและภาษาแล้วการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ
ก็จะบกพร่องตามไปด้วย
ซึ่งทางการศึกษาถือกันว่าการพูดและภาษาเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
จะพบว่าความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องการปรับตัวทางอารมณ์และสังคม
และเป็นปัญหาที่พบกันเสมอในหมู่เด็กที่ประสบความล้มเหลวทางการเรียนรู้
แม้แต่ผลการวิจัยเองก็มักจะออกมาในทำนองสนับสนุนให้เห็นว่า
ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปรับตัวทางด้านอารมณ์และสังคม
คือ เกิดความตึงเครียดของประสาท การมีความคิดเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เหมาะสม ความกลัว
หรือความกังวลต่อการเรียนรู้ ช่วงความสนใจสั้น ไม่เป็นตัวของตัวเอง กังวล เก็บตัว
มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่มีความรับผิดชอบ
อย่างไรก็ตามไม่สามารถจะสรุปได้ว่าการที่เด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อน
หรือหลังการมีปัญหาด้านการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
จะพบว่าปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการของการรับรู้
ซึ่งความสามารถในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ
มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจำมากกว่าความสมารถในการเห็นความแตกต่าง
และความคล้ายคลึงกันของสิ่งที่เรียนรู้อย่างไร้ความหมาย
ดังนั้นถ้าเด็กคนใดบกพร่องในเรื่องการจำก็ควรฝึกฝนเกี่ยวกับรูปร่าง
ถ้าบกพร่องในเรื่องของการแยกแยะ ก็ฝึกเกี่ยวกับการแยกแยะ
เพราะประสบการณ์ตรงเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
และมีผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กอย่างมาก
ดังนั้นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงมีผลกระทบโดยตรงในด้านการเรียนรู้
ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราต้องอาศัยองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันทั้งภายในและภายนอก
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงเป็นผลมาจากองค์ประกอบทางการเรียนรู้ต่าง ๆ
และทำให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆและมีความสามารถที่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ
ไป
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การศึกษาพิเศษ เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถของเด็กตามสภาพของความแตกต่างระหว่างบุคคล
และเอกลักษณ์ของแต่ละคนวิธีการที่นำมาใช้สอนและอบรมเพื่อพัฒนาเด็กจึงจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนด้วย
โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
จึงได้ยึดหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล
และการมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จในการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทจะมีหลักในการจัดการศึกษาที่แตกต่างกันไป
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
- Presentation Transcript
การเรียนร่วม
การเรียนร่วมหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป
การจัดการเรียนร่วม เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ
รับผิดชอบร่วมกัน (Collaboration) และการจัดการเรียนร่วม อาจกระทำได้หลายลักษณะ
วิธีการจัดการเรียนร่วม ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ
ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน
รูปแบบการจัดเรียนร่วม
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษใน
โรงเรียนปกติ
1.ชั้นเรียนปกติเต็มวัน เด็กจะเรียนในชั้นเรียนเต็มวัน และอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้นโดยไม่ได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษ เด็กที่จะเข้าเรียนในลักษณะนี้ได้ควรเป็นเด็กที่มีความพิการน้อย มีความฉลาดและมีความพร้อมในการเรียนตลอดจน
วุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม
2.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
หรือ เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติ เต็มเวลา
และอยู่ในความดูแลของครูประจำชั้นครูประจำวิชา
ซึ่งจะได้รับคำแนะนำจากครูการศึกษ า พิเศษนักจิตวิทยา
เช่นแนะนำชี้แจงให้ครูที่สอนชั้นเรียนร่วมเข้าใจความต้องการ และความสามารถของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ช่วยกำหนด
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน
เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้นแต่จะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากครูเดินสอนตามตารางที่กำหนดหรือเมื่อมีความจำเป็น
ครูเดินสอนจะเดินทางไปให้บริการตามโรงเรียนต่างๆ
ทั้งในและนอกห้องเรียน
รวมถึงการให้บริการช่วยเหลือแก่ครูทั้งด้านการสอนและหรือการปรับพฤติกรรม
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มวันและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น
แต่ได้รับการสอนเสริมจากครูการศึกษาพิเศษที่ประจำอยู่ห้องสอนเสริมบางเวลาหรือบางวิชาวันละ 1-2 ชั่วโมง หรื อ
มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการพิเศษของเด็ก การสอนเด็กอาจกระทำเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็ได้
และสอนในเนื้อหาที่เด็กไม่ได้รับการสอนในชั้นปกติ หรือเนื้อหาที่เด็กมีปัญหา
5. ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ
เด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ
เข้าเรียนร่วม
ในชั้นเรียนปกติในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษา และ
พลศึกษา ศิลปะ เป็นต้น
6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติเป็นการจัดเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่มี
ความบกพร่องประเภทเดียวกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
และเป็นกลุ่มขนาดเล็กปกติเด็กจะเรียน
ในชั้นเรียนพิเศษเต็มเวลาและเรียนกับครูประจำชั้นทุกวิชา
แต่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กทั่วไปเช่นกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ การรับประทานอาหาร การไปทัศนะศึกษา ซึ่งการจัด การเรียนร่วมในลักษณะนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก
ความแตกต่างของการศึกษาแบบเรียนรวม
กับการเรียนร่วม
การศึกษาแบบเรียนร่วมหมายถึง
การนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติ มีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป
การนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติ มีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง
การศึกษาสำหรับคนทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มรับการศึกษาและจัดบริการพิเศษตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล
การศึกษาสำหรับคนทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มรับการศึกษาและจัดบริการพิเศษตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล
การเรียนรู้แบบเรียนรวม ไว้ดังนี้
หลักการจัดการเรียนแบบเรียนรู้ มีดังนี้
1.โรงเรียนยอมรับและจัดการศึกษาสนองลักษณะที่แตกต่างกันของเด็ก
2.โรงเรียนมีมาตรการที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กทุกคนมีสิทธิและมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงแหล่งความรู้
3.โรงเรียนจัดให้เด็กทุกคนได้เรียนในที่ต่าง ๆ ทั้งใน/นอกห้องเรียน
4.โรงเรียนใช้หลักว่าไม่มีครูคนใดที่เก่งพอที่จะสอนได้คนเดียวในชั้นเรียนที่มีเด็กหลายคนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันได้
5.โรงเรียนต้องได้รับการบริหารจัดการในลักษณะยืดหยุ่นสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของ เด็กผู้เรียนที่มีลักษณะหลากหลายได้
6.ครูและบุคลากรทุกคนต้องมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเด็กนักเรียนทุกคนว่าจะสามารถเรียนรู้ได้ถึง มาตรฐานตามที่กำหนดไว้
7.โรงเรียนต้องมีกระบวนการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อนำผลการประเมิน
ความสำคัญของการเรียนรวม
การจัดการเรียนรวม สำหรับเด็กพิเศษที่เข้าเรียนรวมกับเพื่อนๆปกติแบบเคียงบ่าเคียงไหล่กันไป
จะส่งผลให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน เด็กจะเข้าใจถึงความเหมือนและความไม่เหมือนในการอยู่ร่วมกัน เด็กปกติเรียนรู้ที่จะยอมรับความพิการของเพื่อนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา การยอมรับความพิการ การไร้ความสามารถ จึงเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้น จะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์กันเช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกันรู้สึกและตระหนักถึงความพิการได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อเด็กเหล่านี้ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนในระบบ “Inclusion”ยังคงต้องได้รับการบริการศึกษาพิเศษไม่ว่าจะเป็นครูพิเศษ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการทางการศึกษาพิเศษต่อเนื่องกันไป การเรียนในระบบนี้มิได้หมายความว่าจะลดบริการพิเศษต่างๆ ลงหากเพียงแต่มีการเปลี่ยนวิธีการจัดการและการให้บริการ
แนวคิดปรัชญาของการจัดการเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไป เป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคนซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ ทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว สังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมนั้นเป็นการประหยัดและไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณเป็นจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ส่วนงบประมาณ ค่าอาคารสถานที่อาจผันให้เป็นเงินเดือนครูสอนเสริมสำหรับเด็กพิเศษ ถ้าสามารถทำได้ ก็จะเป็นผลดีกับทั้งเด็กและกำลังคนของรัฐอีกด้วย
แนวคิดในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
1. ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กมีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
เมื่อเด็กทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องพิเศษย่อมต้องการโอกาสกาได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วย หากกีดกันไม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไป
2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) หมายถึง การจัดสภาพใดๆ เพื่อให้เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับเด็กปกติ ในการข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least RestrictiveEnvironment) ซึ่งสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุดจะเป็นผลดีกับเด็กมากที่สุดโดยเด็กได้รับผลประโยชน์มากที่สุดการเรียนรวมเป็น
4. การเรียนรู้ (Learning) เด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนรู้
ได้ หากได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องดังนั้นจึงต้องจัดวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของแต่ละคน
ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
1. การจัดการเรียนรวมให้กับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE)
2.การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team)และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
3.การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
หลักการจัดการเรียนแบบเรียนรู้ มีดังนี้
1.โรงเรียนยอมรับและจัดการศึกษาสนองลักษณะที่แตกต่างกันของเด็ก
2.โรงเรียนมีมาตรการที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กทุกคนมีสิทธิและมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงแหล่งความรู้
3.โรงเรียนจัดให้เด็กทุกคนได้เรียนในที่ต่าง ๆ ทั้งใน/นอกห้องเรียน
4.โรงเรียนใช้หลักว่าไม่มีครูคนใดที่เก่งพอที่จะสอนได้คนเดียวในชั้นเรียนที่มีเด็กหลายคนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันได้
5.โรงเรียนต้องได้รับการบริหารจัดการในลักษณะยืดหยุ่นสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของ เด็กผู้เรียนที่มีลักษณะหลากหลายได้
6.ครูและบุคลากรทุกคนต้องมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเด็กนักเรียนทุกคนว่าจะสามารถเรียนรู้ได้ถึง มาตรฐานตามที่กำหนดไว้
7.โรงเรียนต้องมีกระบวนการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อนำผลการประเมิน
ความสำคัญของการเรียนรวม
การจัดการเรียนรวม สำหรับเด็กพิเศษที่เข้าเรียนรวมกับเพื่อนๆปกติแบบเคียงบ่าเคียงไหล่กันไป
จะส่งผลให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน เด็กจะเข้าใจถึงความเหมือนและความไม่เหมือนในการอยู่ร่วมกัน เด็กปกติเรียนรู้ที่จะยอมรับความพิการของเพื่อนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา การยอมรับความพิการ การไร้ความสามารถ จึงเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้น จะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์กันเช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกันรู้สึกและตระหนักถึงความพิการได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อเด็กเหล่านี้ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนในระบบ “Inclusion”ยังคงต้องได้รับการบริการศึกษาพิเศษไม่ว่าจะเป็นครูพิเศษ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการทางการศึกษาพิเศษต่อเนื่องกันไป การเรียนในระบบนี้มิได้หมายความว่าจะลดบริการพิเศษต่างๆ ลงหากเพียงแต่มีการเปลี่ยนวิธีการจัดการและการให้บริการ
แนวคิดปรัชญาของการจัดการเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไป เป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคนซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ ทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว สังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมนั้นเป็นการประหยัดและไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณเป็นจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ส่วนงบประมาณ ค่าอาคารสถานที่อาจผันให้เป็นเงินเดือนครูสอนเสริมสำหรับเด็กพิเศษ ถ้าสามารถทำได้ ก็จะเป็นผลดีกับทั้งเด็กและกำลังคนของรัฐอีกด้วย
แนวคิดในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
1. ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กมีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
เมื่อเด็กทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องพิเศษย่อมต้องการโอกาสกาได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วย หากกีดกันไม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไป
2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) หมายถึง การจัดสภาพใดๆ เพื่อให้เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับเด็กปกติ ในการข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least RestrictiveEnvironment) ซึ่งสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุดจะเป็นผลดีกับเด็กมากที่สุดโดยเด็กได้รับผลประโยชน์มากที่สุดการเรียนรวมเป็น
4. การเรียนรู้ (Learning) เด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนรู้
ได้ หากได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องดังนั้นจึงต้องจัดวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของแต่ละคน
ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
1. การจัดการเรียนรวมให้กับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE)
2.การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team)และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
3.การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
สรุป การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ
โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม
เป็นการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
ซึ่งการศึกษาแบบเรียนร่วมและการศึกษาแบบเรียนรวมนั้น มีความแตกต่างกัน คือการศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการนำนักเรียนพิการ
หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติ มีการร่วมกิจกรรม
และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป
ส่วน การศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการศึกษาสำหรับคนทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มรับการศึกษาและจัดบริการพิเศษตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล โดยแนวคิดการเรียนรวมมีบทบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้ (เบญจา ชลธาร์นนท์:2544)
1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity ) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน หรือพิการหรือไม่ก็ตาม
2. ความหลากหลาย (Diversity) ในมวลหมู่มนุษย์ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้ การให้การศึกษาจะต้องยอมรับความแตกต่างในหมู่ชน การศึกษาที่ให้จะต้องแตกต่างกันแต่ทุกคนจะต้องเคารพในความหลากหลาย
3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization) ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัวและจะต้องยอมรับความปกตินั้น ๆ ทุกคนอยากเหมือนกัน ไม่มีใครอยาก “ ผ่าเหล่าผ่ากอ ” ทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน ห้ามให้การศึกษาแยกตามเหล่า
4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society) ในหนึ่งสังคมย่อมมีความหลากหลายวัฒนธรรม เราต้องยอมรับความหลากหลายเหล่านั้น การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคม
5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดย่อมมีศักยภาพทั้งนั้น แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากันการให้การศึกษาต้องให้จนบรรลุศักยภาพของแต่ละคน ไม่ใช่ให้การศึกษาในปริมาณที่เท่ากันคุณภาพเท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละคน
6. มนุษยนิยม (Humanism) คนเก่งคือคนที่เข้าใจมวลหมู่มนุษย์ และช่วยให้มวลหมู่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่คนเก่งแต่วิชาการแต่ทำให้เกิดการแตกแยก
7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) มนุษย์เป็นสังคม เราไม่สามารถจะแยกมนุษย์ออกจากกันได้ เพราะธรรมชาติของเขาต้องมีสังคม การให้การศึกษาโดยการแยกออกไป จึงไม่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์
8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การให้การศึกษาถึงแม้จะให้เรียนรวมกันไปก็ต้องการเฉพาะของแต่ละคน
9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์เราควรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สังคมน่าอยู่
10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) การให้การศึกษาจะต้องให้ในสภาวะที่เข้าเรียนได้ และจะต้องนำเขาสู่สังคมปกติโดยเร็วที่สุด
ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษนั้น เป็นการจัดการด้านการเรียนการสอน และการบริการให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้ได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักในการจัดการศึกษาพิเศษที่สำคัญก็คือ การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับประโยชน์เต็มที่
การเรียนรวมมีหลักการอย่างไร
จากปรัชญา แนวคิด และความเชื่อของการเรียนรวม ได้มีนักการศึกษาพิเศษและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เสนอหลักการเรียนรวม ดังนี้ ( ผดุง อารยะวิญญู และ วาสนา เลิศศิลป์:2551)
1. ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อเด็กปกติทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วย หากกีดกันไม่ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนปกติ หลายคนมีความเชื่อว่า นั่นคือความไม่ยุติธรรมในสังคม นักการศึกษาจำนวนมากเชื่อว่า ความยุติธรรมในสังคม ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขในสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับความต้องการทางสังคมของเด็ก กล่าวคือ เด็กทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ต้องการความรัก ต้องการความเข้าใจ ต้องการยอมรับ ต้องการมีบทบาท และมีการส่วนร่วมในสังคม เพราะมนุษย์ทุกผู้ทุกนามล้วนเป็นสัตว์สังคมทั้งสิ้น การศึกษาพิเศษในอดีตที่ผ่านมามุ่งเห็นความแตกต่าง มากกว่ามุ่งเน้นความเหมือนมุ่งเน้นจุดอ่อนหรือความไม่สามารถมากมาย บางคนมีความสามารถมากกว่าคนปกติเสียอีก ดังนั้นแนวการจัดการศึกษาพิเศษ จึงมุ่งเน้นความสามารถของเด็ก และการยอมรับของสังคม
2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) หมายถึง การจัดสภาพการใด ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับคนปกติ เช่น ในด้านที่อยู่อาศัย ในอดีตคนพิการ มักถูกส่งเข้าไปอยู่รวมกันในสถานสงเคราะห์ต่อมามีการสร้างบ้านสำหรับคนพิการขึ้นในชุมชน เพื่อให้เขาดำรงชีพอยู่ในสังคมและเป็นส่วนตัวของสังคม การสร้างสถานสงเคราะห์คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ จึงลดลงและหันมาให้บริการแก่ผู้บกพร่องในลักษณะดังกล่าวแทน ผู้ที่มีความบกพร่องอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนปกติ ความเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นในระบบการศึกษา มีการหยุดโรงเรียนเฉพาะหรือโรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนสอนคนตาบอด แต่หันมาส่งเสริมให้เด็กได้เรียนในโรงเรียนปกติ เด็กที่อยู่โรงเรียนเฉพาะทั้งหลายจึงถูกส่งกลับบ้าน เพื่อให้เข้าเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน
3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) คือ การจัดให้เด็กเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด จึงจะเป็นผลดีกับเด็กมากที่สุดโดยเด็กได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนเฉพาะประเภทอื่น ๆ ร่วมถึงชั้นพิเศษด้วย จัดอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัด เนื่องจากเด็กต้องถูกจำกัดให้อยู่ในโรงเรียนเฉพาะไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ โรงเรียนแบบเรียนร่วมเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้กับทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้ครูได้เข้าใจเด็กว่าในโลกนี้ยังมีเด็กประเภทนี้อยู่ในโลก อยู่รวมสังคมกับเรา เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พื้นฐานที่จะทำให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ ที่จะทำให้คนในสังคมอยู่รวมกันได้ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องเรียนร่วมในโรงเรียนพิเศษของประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ หรือญี่ปุ่น ต่างดำเนินไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น นั่นคือให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด
4. การเรียนรู้ (Learning) มีความเชื่อว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะเป็นเด็กปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่าเด็กปัญญาอ่อนไม่สามารถเรียนหนังสือได้แต่ต่อมาได้มีการพิสูจน์ว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเรียนหนังสือได้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ เด็กปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้ (Educable Mentally Retarded Children) สามารถเรียนหนังสือได้ในชั้นประถมศึกษาหรือในระดับชั้นที่สูงกว่า หากเด็กที่มีความพร้อม และได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและถูกวิธี เด็กปัญญาอ่อนที่มีระดับสติปัญญาต่ำมากแม้จะไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ แต่เขาก็สามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของเขา
จากหลักการเรียนรวม อาจกล่าวได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหลายคนอาจเรียนรู้ได้ดี แต่การประเมินการสอน จะต้องจัดให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของแต่ละคน การสอนให้จำอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นการสอนที่ดีและไม่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี เพราะเด็กที่เรียนรู้ได้ดีในเนื้อหาวิชา อาจไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตการงานก็ได้ การเรียนรู้ที่ดีอาจพิจารณาได้จากการที่เด็กมีความพึงพอใจในการเรียน มีความพึงพอใจในงานที่ตนเองทำ ซึ่งความพึงพอใจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นโรงเรียนที่จะจัดการเรียนรวมได้ดี ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี ควรปรับกระบวนการใหม่ตั้งแต่ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน
รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ
( Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา
จากการไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้เรียบเรียง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดรูปแบบ การร่วมมือ หรือ การร่วมสอน
คาร์ทเนอร์และลิปสกี้ (Gartner & Lipsky , 1997 อ้างถึงใน สมพร หวานเสร็จ ,2543) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมไว้หลายรูปแบบ บางรูปแบบคล้ายกับที่ด๊าคเสนอไว้ แต่ที่ต่างออกไปมี 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบห้องเสริมวิชาการ (Resource Room Model) เป็นการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษสอนในห้องที่จัดไว้ต่างหากเป็นการนำเด็กออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) ห้องเสริมวิชาการเป็นห้องที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับกลุ่มเฉพาะ ใช้เป็นห้องฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา นั่นคือบางเวลาเรียนรวมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทักษะเฉพาะบางประการ ดังรูปแบบห้องเสริมวิชาการ ของ Lake Bention : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกาทีผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน แสดงได้ ดังภาพที่ 3
2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สำหรับ 1 ห้องเรียนปกติ ผู้ช่วยครู ( บางทีอาจเรียนครูผู้ช่วย ) จะเข้าไปนั่งในห้องเรียนขณะที่ครูประจำการกำลังสอนอยู่หน้าชั้น ผู้ช่วยครูจะนั่งติดกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูผู้ช่วยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ จะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ 1 – 2 คน ในห้องเรียนรวมเต็มเวลา หน้าที่ของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพิ่มเติมตามที่ครูสอน ช่วยเรียกเด็กให้กลับมาสนใจบทเรียนหากเด็กเริ่มเสียสมาธิตลอดจนตอบคำถามของเด็กในเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้ช่วยครูอาจไม่มีวุฒิทางการศึกษาก็ได้ อาจเป็นอาสาสมัครหรือผู้ปกครองก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผู้ปกครองของเด็กที่ผู้ช่วยครูกำลังดูแลอยู่ ผู้ช่วยครูจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียน รูปแบบผู้ช่วยครู
อาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ละรูปแบบมีลักษณะเฉพาะ และมีความเหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป และอาจมีรูปแบบอื่นที่มิได้จำกัดอยู่เพียง 8 รูปแบบที่กล่าวมานี้ อย่างไรก็ตามไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดี
ที่สุดแต่ละรูปแบบเป็นทางเลือกที่คนพิการ สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการจำเป็นที่เหมาะสมสำหรับคนพิการแต่ละคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวม
ในบรรยากาศในชั้นเรียนรวม มีนักการศึกษาหลายคนได้ เสนอแนะการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวมไว้ดังนี้ (Mastropieri, Margo and Thomas, 2000)
1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity ) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน หรือพิการหรือไม่ก็ตาม
2. ความหลากหลาย (Diversity) ในมวลหมู่มนุษย์ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้ การให้การศึกษาจะต้องยอมรับความแตกต่างในหมู่ชน การศึกษาที่ให้จะต้องแตกต่างกันแต่ทุกคนจะต้องเคารพในความหลากหลาย
3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization) ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัวและจะต้องยอมรับความปกตินั้น ๆ ทุกคนอยากเหมือนกัน ไม่มีใครอยาก “ ผ่าเหล่าผ่ากอ ” ทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน ห้ามให้การศึกษาแยกตามเหล่า
4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society) ในหนึ่งสังคมย่อมมีความหลากหลายวัฒนธรรม เราต้องยอมรับความหลากหลายเหล่านั้น การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคม
5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดย่อมมีศักยภาพทั้งนั้น แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากันการให้การศึกษาต้องให้จนบรรลุศักยภาพของแต่ละคน ไม่ใช่ให้การศึกษาในปริมาณที่เท่ากันคุณภาพเท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละคน
6. มนุษยนิยม (Humanism) คนเก่งคือคนที่เข้าใจมวลหมู่มนุษย์ และช่วยให้มวลหมู่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่คนเก่งแต่วิชาการแต่ทำให้เกิดการแตกแยก
7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) มนุษย์เป็นสังคม เราไม่สามารถจะแยกมนุษย์ออกจากกันได้ เพราะธรรมชาติของเขาต้องมีสังคม การให้การศึกษาโดยการแยกออกไป จึงไม่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์
8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การให้การศึกษาถึงแม้จะให้เรียนรวมกันไปก็ต้องการเฉพาะของแต่ละคน
9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์เราควรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สังคมน่าอยู่
10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) การให้การศึกษาจะต้องให้ในสภาวะที่เข้าเรียนได้ และจะต้องนำเขาสู่สังคมปกติโดยเร็วที่สุด
ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษนั้น เป็นการจัดการด้านการเรียนการสอน และการบริการให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้ได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักในการจัดการศึกษาพิเศษที่สำคัญก็คือ การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับประโยชน์เต็มที่
การเรียนรวมมีหลักการอย่างไร
จากปรัชญา แนวคิด และความเชื่อของการเรียนรวม ได้มีนักการศึกษาพิเศษและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เสนอหลักการเรียนรวม ดังนี้ ( ผดุง อารยะวิญญู และ วาสนา เลิศศิลป์:2551)
1. ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อเด็กปกติทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วย หากกีดกันไม่ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนปกติ หลายคนมีความเชื่อว่า นั่นคือความไม่ยุติธรรมในสังคม นักการศึกษาจำนวนมากเชื่อว่า ความยุติธรรมในสังคม ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขในสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับความต้องการทางสังคมของเด็ก กล่าวคือ เด็กทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ต้องการความรัก ต้องการความเข้าใจ ต้องการยอมรับ ต้องการมีบทบาท และมีการส่วนร่วมในสังคม เพราะมนุษย์ทุกผู้ทุกนามล้วนเป็นสัตว์สังคมทั้งสิ้น การศึกษาพิเศษในอดีตที่ผ่านมามุ่งเห็นความแตกต่าง มากกว่ามุ่งเน้นความเหมือนมุ่งเน้นจุดอ่อนหรือความไม่สามารถมากมาย บางคนมีความสามารถมากกว่าคนปกติเสียอีก ดังนั้นแนวการจัดการศึกษาพิเศษ จึงมุ่งเน้นความสามารถของเด็ก และการยอมรับของสังคม
2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) หมายถึง การจัดสภาพการใด ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับคนปกติ เช่น ในด้านที่อยู่อาศัย ในอดีตคนพิการ มักถูกส่งเข้าไปอยู่รวมกันในสถานสงเคราะห์ต่อมามีการสร้างบ้านสำหรับคนพิการขึ้นในชุมชน เพื่อให้เขาดำรงชีพอยู่ในสังคมและเป็นส่วนตัวของสังคม การสร้างสถานสงเคราะห์คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ จึงลดลงและหันมาให้บริการแก่ผู้บกพร่องในลักษณะดังกล่าวแทน ผู้ที่มีความบกพร่องอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนปกติ ความเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นในระบบการศึกษา มีการหยุดโรงเรียนเฉพาะหรือโรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนสอนคนตาบอด แต่หันมาส่งเสริมให้เด็กได้เรียนในโรงเรียนปกติ เด็กที่อยู่โรงเรียนเฉพาะทั้งหลายจึงถูกส่งกลับบ้าน เพื่อให้เข้าเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน
3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) คือ การจัดให้เด็กเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด จึงจะเป็นผลดีกับเด็กมากที่สุดโดยเด็กได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนเฉพาะประเภทอื่น ๆ ร่วมถึงชั้นพิเศษด้วย จัดอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัด เนื่องจากเด็กต้องถูกจำกัดให้อยู่ในโรงเรียนเฉพาะไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ โรงเรียนแบบเรียนร่วมเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้กับทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้ครูได้เข้าใจเด็กว่าในโลกนี้ยังมีเด็กประเภทนี้อยู่ในโลก อยู่รวมสังคมกับเรา เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พื้นฐานที่จะทำให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ ที่จะทำให้คนในสังคมอยู่รวมกันได้ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องเรียนร่วมในโรงเรียนพิเศษของประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ หรือญี่ปุ่น ต่างดำเนินไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น นั่นคือให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด
4. การเรียนรู้ (Learning) มีความเชื่อว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะเป็นเด็กปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่าเด็กปัญญาอ่อนไม่สามารถเรียนหนังสือได้แต่ต่อมาได้มีการพิสูจน์ว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเรียนหนังสือได้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ เด็กปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้ (Educable Mentally Retarded Children) สามารถเรียนหนังสือได้ในชั้นประถมศึกษาหรือในระดับชั้นที่สูงกว่า หากเด็กที่มีความพร้อม และได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและถูกวิธี เด็กปัญญาอ่อนที่มีระดับสติปัญญาต่ำมากแม้จะไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ แต่เขาก็สามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของเขา
จากหลักการเรียนรวม อาจกล่าวได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหลายคนอาจเรียนรู้ได้ดี แต่การประเมินการสอน จะต้องจัดให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของแต่ละคน การสอนให้จำอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นการสอนที่ดีและไม่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี เพราะเด็กที่เรียนรู้ได้ดีในเนื้อหาวิชา อาจไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตการงานก็ได้ การเรียนรู้ที่ดีอาจพิจารณาได้จากการที่เด็กมีความพึงพอใจในการเรียน มีความพึงพอใจในงานที่ตนเองทำ ซึ่งความพึงพอใจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นโรงเรียนที่จะจัดการเรียนรวมได้ดี ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี ควรปรับกระบวนการใหม่ตั้งแต่ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน
รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ
( Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา
จากการไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้เรียบเรียง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดรูปแบบ การร่วมมือ หรือ การร่วมสอน
คาร์ทเนอร์และลิปสกี้ (Gartner & Lipsky , 1997 อ้างถึงใน สมพร หวานเสร็จ ,2543) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมไว้หลายรูปแบบ บางรูปแบบคล้ายกับที่ด๊าคเสนอไว้ แต่ที่ต่างออกไปมี 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบห้องเสริมวิชาการ (Resource Room Model) เป็นการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษสอนในห้องที่จัดไว้ต่างหากเป็นการนำเด็กออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) ห้องเสริมวิชาการเป็นห้องที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับกลุ่มเฉพาะ ใช้เป็นห้องฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา นั่นคือบางเวลาเรียนรวมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทักษะเฉพาะบางประการ ดังรูปแบบห้องเสริมวิชาการ ของ Lake Bention : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกาทีผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน แสดงได้ ดังภาพที่ 3
2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สำหรับ 1 ห้องเรียนปกติ ผู้ช่วยครู ( บางทีอาจเรียนครูผู้ช่วย ) จะเข้าไปนั่งในห้องเรียนขณะที่ครูประจำการกำลังสอนอยู่หน้าชั้น ผู้ช่วยครูจะนั่งติดกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูผู้ช่วยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ จะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ 1 – 2 คน ในห้องเรียนรวมเต็มเวลา หน้าที่ของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพิ่มเติมตามที่ครูสอน ช่วยเรียกเด็กให้กลับมาสนใจบทเรียนหากเด็กเริ่มเสียสมาธิตลอดจนตอบคำถามของเด็กในเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้ช่วยครูอาจไม่มีวุฒิทางการศึกษาก็ได้ อาจเป็นอาสาสมัครหรือผู้ปกครองก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผู้ปกครองของเด็กที่ผู้ช่วยครูกำลังดูแลอยู่ ผู้ช่วยครูจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียน รูปแบบผู้ช่วยครู
อาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ละรูปแบบมีลักษณะเฉพาะ และมีความเหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป และอาจมีรูปแบบอื่นที่มิได้จำกัดอยู่เพียง 8 รูปแบบที่กล่าวมานี้ อย่างไรก็ตามไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดี
ที่สุดแต่ละรูปแบบเป็นทางเลือกที่คนพิการ สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการจำเป็นที่เหมาะสมสำหรับคนพิการแต่ละคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวม
ในบรรยากาศในชั้นเรียนรวม มีนักการศึกษาหลายคนได้ เสนอแนะการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวมไว้ดังนี้ (Mastropieri, Margo and Thomas, 2000)
1. บรรยากาศของความเป็นมิตร
เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษทำกิจกรรมการเรียนร่วมกัน
ไม่มีการรังเกียจเดียดฉันท์ ทุกคนเป็นมิตร จนไม่สนใจคำว่าพิการหรือปกติ
2. นักเรียนประกอบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายตามศูนย์การเรียนต่าง
ๆ ตามความสนใจและความสามารถของตน
3. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนและเฝ้ามองดูการร่วมกิจกรรมของนักเรียนและเฝ้ามองดูการร่วมกิจกรรมของนักเรียนด้วยความยินดี
4. ผู้เรียนมีโอกาสเลือกที่จะประกอบกิจกรรม
มีทั้งกิจกรรมที่ง่ายและกิจกรรมที่ยาก ๆ ให้เลือก
5. บรรยากาศห้องเรียนที่มีเพื่อนคอยช่วยเหลือเกื้อกูล
ซึ่งกันและกัน ไม่ใช้บรรยากาศแข่งกันหรือแก่งแย่งแข่งดี
6. บรรยากาศของการสร้างปฏิสัมพันธ์
( Interaction ) ทางสังคม
เด็กทุกคนได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
ห้องเรียนอาจไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยนัก
7. บรรยากาศของการเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางครูไม่ใช่แหล่งความรู้
ครูไม่ใช่ผู้สอน แต่ครูเป็นผู้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ด้วยตนเอง
8. บรรยากาศที่ผู้เรียนแต่ละคนทำกิจกรรมที่หลากหลายแตกต่างกันไม่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำในสิ่งเดียวกันและบรรลุเป้าหมายสูงสุดอันเดียวกัน
9. เป็นการเรียนการสอนที่มิได้ดำเนินไปเฉพาะในห้องเรียน
แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะต้องออกไปสู่แหล่งวิชาการในชุมชน
10. เป็นการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเฉพาะทักษะทางวิชาการ
แต่เน้นทักษะทางสังคมและทุกทักษะที่เป็นทักษะใหม่
เอ็ดชนิดท์และบาร์เร็ทท์ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับสภาพห้องเรียน
ปรับการสอน ปรับสภาวะทางสังคม และพฤติกรรม และความร่วมมือไว้ ดังนี้
1. ห้องเรียน
สภาพห้องเรียนอาจมีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1.1 การเคลื่อนไหว
ควรจัดห้องเรียนไม่ให้ตั้งโต๊ะ เก้าอี้ แน่นจนเกินไป
ควรจัดให้มีพื้นที่ว่างที่เด็กจะเคลื่อนไหวได้สะดวก
1.2 โต๊ะกลม
อาจจัดให้มีโต๊ะกลม 1 ตัว
เพื่อให้เด็กนั่งทำกิจกรรมกลุ่มให้สะดวก
1.3 การจัดที่นั่ง
อาจจัดโต๊ะให้นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือได้นั่งใกล้ชิดกับโต๊ะครูหรือนั่งใกล้กระดาน
2. การเรียนการสอน
ครูอาจปรับการเรียนการสอน วิธีสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
ครูอาจปรับได้ดังนี้
2.1 จัดให้มีสื่อทางสายตา
เช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ตัวอักษรขนาดใหญ่ ภาพประกอบ แผนภูมิ โทรทัศน์
หรือวีดีทัศน์ เป็นต้น
2.2 การฝึกทักษะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการอ่านจับใจความ
ครูอาจต้องระบายสีหรือขีดเส้นใต้คำสำคัญในเรื่องที่จะทำมาให้เด็กอ่าน
2.3 การมอบหมายงานให้ทำ
ครูอาจต้องให้เวลาเด็กนานกว่าคนอื่น ให้งานที่มีปริมาณพอเหมาะกับความสามารถของเด็ก
เด็กบางคนอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์
2.4 การสอบ
อาจต้องสอบสัมภาษณ์ หรือสอบปากเปล่าแทนการสอบข้อเขียน อาจให้ทำข้อสอบไปที่บ้าน (Take
Home) ควรมีการแนะนำเกี่ยวกับลักษณะของข้อสอบ
ควรแบ่งเวลาสอบออกเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วง
2.5 การวัดผลการประเมินผล
ควรตัดสินการสอบได้สอบตก หรือควรให้เกรดตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ควรประเมินผลตามแฟ้มสะสมงาน หรือประเมินผลตามสภาพจริง
2.6 การเรียนการสอน
ควรใช้วิธีการสอนแบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Cooperative Learning) หรือการผลัดกันสอนหรือสอนเพื่อน หรือทั้ง 3 วิธี หรือหลาย ๆ วิธี
2.7 การจัดลำดับการสอน/การมอบงานให้ทำ
ควรจัดให้มีสมุดจดงาน ให้นักเรียนจดงานที่ครูมอบหมายลงในสมุดจดงาน
หรือหาวิธีจัดลำดับงานให้เป็นระบบและง่ายต่อการตรวจสอบ
2.8 กิจกรรมคู่ขนาน
(Parallel Activities) ควรมอบงานให้เด็กทำไปพร้อม ๆ
กับเพื่อน แต่แทนที่จะมอบงานชนิดเดียวกัน ครูควรมอบงานที่คล้ายกันแต่ง่ายกว่างานที่เพื่อนกำลังทำอยู่
นั่นคือ ทำกิจกรรมเดียวกัน แต่มีระดับความยากง่ายแตกต่างจากงานที่เพื่อนกำลังทำ
2.9 หลักสูตรคู่ขนาน
(Parallel Curriculum) เนื้อหาในหลักสูตรอาจเป็นเนื้อหาเดียวกันแต่เนื้อหาย่อย
ๆ อาจแตกต่างกันไป ครูควรสอนในเนื้อหาย่อยที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน เช่น
ในขณะที่เพื่อน ๆ กำลังทำเลขโจทย์ระคนการบวกและการลบ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษอาจทำโจทย์การบวก หรือการลบเพียงอย่างเดียว เป็นต้น
2. 10 การใช้เทคโนโลยี
ในการเรียนการสอน ครูอาจอนุญาตให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวมใช้ CAI
(Computer Assisted Instruction - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน )
อุปกรณ์ในการสื่อสาร เทคโนโลยีอื่นที่จำเป็น
3. สภาวะทางสังคมและพฤติกรรม
ครูผู้สอนชั้นเรียนรวมอาจปรับเปลี่ยน คือ
คำนึงถึงสภาวะทางสังคมและพฤติกรรมของผู้เรียน ซึ่งอาจมีดังนี้
3. 1 การฝึกทักษะทางสังคม
ครูอาจพิจารณาว่าเด็กจำเป็นต้องฝึกทักษะทางสังคมด้านใดบ้างเด็กต้องการคำแนะนำปรึกษาด้านใดบ้าง
3. 2 พฤติกรรม
จำเป็นต้องใช้เทคนิคในการจัดการกับพฤติกรรมบ้างหรือไม่ เทคนิคใดจะเหมาะสม เช่น
การเสริมแรง การชี้แนะ ฯลฯ
3. 3 การควบคุมตนเอง
อาจต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักควบคุมตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ
3. 4 การช่วยเหลือจากเพื่อน
อาจจำเป็นต้องจัดหาเพื่อนคู่หูให้เพื่อนคอยช่วยเหลือในการฝึกทักษะทางสังคมทักษะทางพฤติกรรม
การให้เพื่อนคอยช่วยควบคุมพฤติกรรมเพื่อนช่วยทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. 5 การจัดระบบในชั้นเรียน
การช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม อาจจัดให้เป็นระบบทั้งชั้น
เช่น วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งมีคน 2 คน
คอยช่วยเหลือกันแล้ว ยังจำเป็นต้องให้ทั้งชั้น เข้าใจระบบ
และให้ความช่วยเหลือในยามจำเป็นอีกด้วย การจัดระบบในชั้นเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
4. ความร่วมมือ
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม
อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
4.1 ผู้ช่วยครู
ในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่จะเข้ามาช่วยครูในห้องเรียนอาจเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ทางโรงเรียนพิจารณาเห็นสมควร
4.2 การสอนร่วมกัน
หมายถึง
การที่มีครูอีกคนหนึ่งหรือหลายคนเข้ามาช่วยกันสอนในห้องเรียนรวมในเวลาเดียวกัน
หรือบางเวลา เช่นคนหนึ่งสอนอีกคนหนึ่งช่วยเหลือเด็ก เป็นต้น
ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
4.3 ห้องเสริมวิชาการ
โรงเรียนบางแห่งมีห้องเรียนเสริมวิชาการอยู่แล้ว
ครูผู้สอนอาจขอความช่วยเหลือจากห้องเสริมวิชาการในโรงเรียน
4.4 การอบรมครู
ครูประจำการควรได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ ในหัวข้อที่จำเป็นต่อวิชาชีพครู เช่น
เทคนิคการจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียน เทคนิคการสอนชั้นเรียนรวม
การจัดสภาพห้องเรียนในชั้นเรียนรวม
ของ Leke Benton : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน
ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
1. การจัดการเรียนรวมให้กับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE)
2.การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team)และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
3.การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
1. การจัดการเรียนรวมให้กับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE)
2.การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team)และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
3.การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
ที่มา
ฉวีวรรณ โยคิน. [online] http://61.19.246.216/~nkedu2/?
name=webboard&file=read&id=177. การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการ
ศึกษาแบบเรียนร่วม. สืบค้นเมื่อ20/08/58.
www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10. การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
และจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม. สืบค้นเมื่อ20/08/58.
แบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม.
สืบค้นเมื่อ20/08/58.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น